วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่11 วันอังคารที่27 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2558

                                                                  บันทึกอนุทิน





Knowledge.



กิจกรรมที่ 1 เรื่อง   ดอกไม้ แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คนพับกระดาษแล้วตัดให้เป็น 4 ส่วนแล้วตัดเป็นกลีบดอกไม้ หลังจากนั้นนำลงมาลอยน้ำพร้อมกันกับเพื่อนในกลุ่มแล้วสังกตและบันทึกผล โดยให้เพื่อนในกลุ่มหนึ่งคนเป็นคนจดบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนำดอกไม้ลอยน้ำ

สรุปว่า  ดอกไม้ของพื่อนที่ทำจะมีการจมที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการพับและการตัดกลีบดอกไม้ ขนาด และลักษณะของดอกไม้










กิจกรรมที่ 2  เรื่องน้ำ  ทดลองโดยใช้ขวดน้ำอัดลม 2ขวด เจาะรู 3 รู  เติมน้ำให้เต็มขวด อาจารย์ปิดรู แล้วให้สังกตว่า รูไหนน้ำจะพุ่งออกมาได้ไกลสุด


           สรุปว่าหลังจากการทดลอง รูที่อยู่ตรงกลางน้ำจะพุ่งออกมาได้ไกลที่สุด เพราะว่ามีแรงดันมากกว่ารูอื่น









กิจกรรมที่3 เรื่องน้ำ ทดลอง  ขวดเปล่าที่เจาะรู สายยางต่อกับดินน้ำมันโดยเอาปลายสายยางขึ้น จากนั้นเทน้ำลงไปในขวดจนเต็มขวดสังเกตเห็นว่า น้ำก็จะไหลไปตามสายยางเป็นน้ำพุ แต่ถ้าปิดฝาขวดน้ำจะไม่ไหล และถ้ายิ่งวางถ้วยต่ำน้ำยิ่งไหลสูงเพราะน้ำจะไหลลงสู่ที่ต่ำ
  





        



กิจกรรมที่ 4 ลูกยางกระดาษ  ใช้กระดาษ คริปหนีบกระดาษ  ตัดกระดาษเป็นสองแฉกทั้งสองด้านพับที่ฐานข้างล่างสลับกัน
 แล้วใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบ ทดลอง โยนลูกยางกระดาษให้หมุนกลางอากาศ ถ้าทำฐานและปีกลูกยางให้มดุลกันลูกยางก็จะหมุนแต่ทำปีกลูกยางโค้งลูกยางจะไม่หมุน









 
กิจกรรมที่ 5 ไหมพรมเต้นระบำ  ทดลอง โดยใช้ หลอดดูดน้ำ  ไหมพรม  ตัดหลอดครึ่งหนึ่งสอดไหมพรมเข้าไปแล้ว มัดปม หลังจากนั้นเป่าหลอดไหมพรม ไหมพรมก็จะเคลื่อนที่(เต้นระบำ) และยิ่งเป่าแรงไหมพรมก็จะเต้นแรง
















กิจกรรมที่ 6  เทียนไข อุปกรณ์ ใช้แก้ว เทียนไข ถ้วย ไม้ขีด ทดลอง โดยจุดเทียนไข  
เมื่อเราใช้แก้ว ครอบเทียนไข ลักษณะของเปลวไฟ จะค่อยหรี่ลงๆ จนในที่สุดเทียนไขก็จะดับ ก็เป็นเพราะว่า ในอากาศมี ออกซิเจนอยู่ ซึ่งออกซิเจน มีคุณสมบัติที่ 

ช่วยในการติดไฟ เมื่อเราครอบแก้วลงไป เทียนไขจะสามารถ ส่องสว่างได้










  ทดลองครั้งที่2  จุดเทียนไขแล้วเทน้ำลงไปรอบๆเทียน หลังจากนั้นนำแก้วไปครอบ แล้วสังเกตว่าจะเกิดอะไรขึ้น
จากการสังเกตพบว่า เทียนไขจะค่อยๆดับ แล้วน้ำก็จะเข้าไปในแก้ว เพราะเมื่อออกซิเจนที่มีภายในแก้วถูกใช้ในการเผาไหม้จนหมด  เทียนไขจึงดับ ความดันอากาศภายในแก้วมีน้อยกว่าภายนอกแก้ว   ความดันอากาศภายนอกจึงดันให้น้ำนอกแก้วไหลเข้าไปในแก้วที่มีความดันอากาศน้อยกว่า


       






Skills.


     1การวิเคราะห์  สังเคราะห์

     2. ทักษะการสังเกต
      3.การระดมความคิด การเสนอความคิดเห็น





Teaching Methods.


      อาจารย์มีวิธีการสอนที่ใช้คำถามให้คิดเเละแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาเกิดการคิดสังเคราะห์  คิดวิเคราะห์  มีการอธิบาย  ยกตัวอย่าง ห้สืบหาข้อมูลความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่เรียน



Assessment.


 -classroom    อากาศถ่ายเทสะดวก บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย จำนวนโต๊ะเก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา 


 -Self    เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบ ช่วยกันตอบคำถามและมีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอน 


 -Friend  เข้าเรียนตรงเวลา มีการแสดงความคิดเห็นและการระดมสมองในการตอบคำถามและ ช่วยกันตอบคำถามได้ดี


 -Professor  อาจารย์มีความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม มีการอธิบาย ยกตัวอย่างเพิ่มเติมในการสอนเพื่อน


ให้เห็นภาพชัดเจน มีการใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักศึกษาเกิดการคิดวิเคราะห์

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่10 วันอังคารที่20 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2558

                                                                  บันทึกอนุทิน





Knowledge.

นำเสนอวิจัย




นางสาว ปรางชมพู บุญชม  เลขที่ 10
   

  




นางสาว ชนากานต์  เเสนสุข เลขที่ 12









เก็บตก ของ นางสาว รัตนาภรณ์  คงกะพันธ์ เลขที่ 21





งานได้รับมอบหมายให้คิดเมนูในการทำ  Cooking ซึ่งกลุ่มพวกเราได้ทำ พิซซ่า









ส่วนผสมและอุปกรณ์ในการทำพิซซ่า





Skills.


     1. การระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่ม

     2. การคิดอย่างมีเหตุผล การคิดวิเคราะห์


    3.ได้นำการทำcookingมาเชื่อมโยงเข้าสู่วิทยาศาสตร์






Teaching Methods.

      อาจารย์มีการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิดสังเคราะห์  คิดวิเคราะห์  มีการอธิบาย  ยกตัวอย่าง ให้นักศึกษามีความคิดที่หลากหลาย 


Assessment.

 -classroom    อากาศถ่ายเทสะดวก บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย จำนวนโต๊ะเก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา 

 -Self    เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบ ช่วยกันตอบคำถามและมีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอน 

 -Friend  เข้าเรียนตรงเวลา มีการแสดงความคิดเห็นและการระดมสมองในการตอบคำถามและ ช่วยกันตอบคำถามได้ดี

 -Professor  อาจารย์มีความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม มีการอธิบาย ยกตัวอย่างเพิ่มเติมในการสอนเพื่อน

ให้เห็นภาพชัดเจน มีการใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักศึกษาเกิดการคิดวิเคราะห์

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่9 วันอังคารที่13 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2558

                                                                  บันทึกอนุทิน




Knowledge.

นำเสนอบทความ



นางสาวสุทธิการต์ กางพาพันธ์   เลขที่ 14  





นางสาว ศุทธินี   โนนริบูรณ์ เลขที่  15







นางสาว เจนจิรา  เทียมนิล  เลขที่  13







นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์จากเศษวัสดุเหลือ

กลุ่ม 102 ได้นำเสนอของนางสาวจิราพร ละครสระน้อย เรื่อง แม่เหล็ก


=>แม่เหล็กจะดูดวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเองได้เพราะมีแรง  สามารถดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็ก 

เช่น วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก นิกเกิล และไม่ดูดวัตถุที่คุณสมบัติตรงข้ามกับแม่เหล็ก เช่น ไม้ แก้ว พลาสติก














                                       นำเสนองานจากMy Mapping ในหน่วยต้นไม้แสนรัก





Skills.

     1การศึกษาค้นคว้าและการออกแบบของเล่นเพื่อให้เชื่อมโยงวิทยาศาสตร์

     2. การคิดอย่างมีเหตุผล การคิดวิเคราะห์

    3.นำเนื้อหาสาระในMy Mapping มาจัดการเรียนรู้ทีหลากหลาย เช่น การทดลอง ของเล่น มุมวิทยาศาสตร์





Teaching Methods.

      อาจารย์มีการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิดสังเคราะห์  คิดวิเคราะห์  มีการอธิบาย  ยกตัวอย่าง และเพิ่มเติมเรื่องมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการเรียนรู้แบบSTEM


Assessment.

 -classroom    อากาศถ่ายเทสะดวก บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย จำนวนโต๊ะเก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา 

 -Self    เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบ ช่วยกันตอบคำถามและมีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอน 

 -Friend  เข้าเรียนตรงเวลา มีการแสดงความคิดเห็นและการระดมสมองในการตอบคำถามและ ช่วยกันตอบคำถามได้ดี

 -Professor  อาจารย์มีความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม มีการอธิบาย ยกตัวอย่างเพิ่มเติมในการสอนเพื่อน

ให้เห็นภาพชัดเจน มีการใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักศึกษาเกิดการคิดวิเคราะห์

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่8 วันอังคารที่6 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2558

                                                                  บันทึกอนุทิน




Knowledge.

นำเสนอโทรทัศน์


 นางสาว เวรุวรรณ  ชูกลิ่น เลขที่  18







นางสาววัชรี วงศ์สะอาด เลขที่ 19 





นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว  เลขที่20





    




ทำงานเป็นกลุ่มในหน่วยต่างๆ  ที่จะสอนเด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยเเบ่งตามหน่วยทั้ง 4 หน่วย โดยทำเป็น My Mapping

หน่วยที่ 1=> สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

หน่วยที่ 2 =>เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

หน่วยที่ 3=> บุคคลเเละสานที่

หน่วยที่ 4 =>ธรรมชาติรอบตัว

                           กลุ่มของฉันได้หน่วย ธรรมชาติรอบตัว เรื่อง ต้นไม้แสนรัก









Skills.


1.การวิเคราะห์ สังเคราะห์

2.การระดมความคิดของเพื่อนในกลุ่ม

3.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อฝึกการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน
     




Teaching Methods.

      อาจารย์มีการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิดสังเคราะห์  คิดวิเคราะห์  มีการอธิบาย  ยกตัวอย่างและอาจารย์ใช้คำถามเพื่อโยงเข้าสู่วิทยาศาสตร์


Assessment.

 -classroom    อากาศถ่ายเทสะดวก บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย จำนวนโต๊ะเก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา และinternetให้ใช้

 -Self    เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบ ช่วยกันตอบคำถามและมีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอน 

 -Friend  เข้าเรียนตรงเวลา จดบันทึกที่อาจารย์สอนและมีการระดมสมองในการตอบคำถามและ ช่วยกันตอบคำถามได้ดี

 -Professor  อาจารย์มีความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม มีการอธิบาย ยกตัวอย่างเพิ่มเติมในการสอนเพื่อน

ให้เห็นภาพชัดเจน มีการใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักศึกษาเกิดการคิดวิเคราะห์และใช้คำถามเพื่อโยงเข้าสู่วิทยาศาสตร์

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

   


สรุปโทรทัศน์ครู  


เรื่อง   สอนปฐมวัยด้วยธรรมชาติผสานวิถีพุทธ ตอนที่4 นวัตกรรมมาทาลโปรแกรม


คุณครูชลธิชา  หงษ์ษา  โรงเรียนสยามสามไตร



ครูชลธิชาจะนำวิถีธรรมชาติและวิถีพุทธลงสู่เด็กชั้นอนุบาล 3 ผ่านนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบธรรมชาติที่มีชื่อว่า มา
ทาลโปแกรม เด็กจะได้ลงมือทำและได้เข้าใจ โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 

กิจกรรมแรก เรื่องหน่วยชุมชนของเรา

ครูจะถามเด็กก่อนว่า ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียน  จากโรงเรียนถึงบ้าน เด็กๆเห็นอะไรบ้าง เป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน 
เด็กจะได้ การเรียนรู้  การสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว แล้วครูก็จะให้เด็กๆนำบ้านที่ตนเองสร้างมาวางเป็นชุมชนโดยมีโทจย์ 3 ข้อ คือ

1.นำบ้านของเด็กๆทุกคนมาสร้างเป็นชุมชน

2.ครูก็จะมีอุปกรณ์ให้คือ บล็อกไม้  ตะเกียบ  รูปทรงต่างๆ

3.เส้นทางการเดินทางของเรามีธรรมชาติ  ครูจะให้เด็กๆนำกล่องนมมาสร้างเป็นต้นไม้   พอสร้างชุมชนเสร็จเด็กสามรถชี้ได้  บอกได้ สามารถแยกแยะสิ่งของที่เป็นโลหะ  ไม้  พลาสติกได้

ซึ่งเป็นนวัตกรรมการสอนวิทยาศาสตร์แบบธรรมชาติ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรมการสร้างชุมชนในฝัน กิจกรรมนี้เด็กจะได้

ทั้งทักษะการสังเกต และการเชื่อมโยงความรู้กับสิ่งที่อยู่รอบตัว จนสามารถสังเคราะห์ความรู้สร้างสรรค์ออกมาเป็นชิ้นงานของตนเองได้


กิจกรรมที่2  การแยกแยะสิ่งของ จับคู่ความสัมพันธ์


-ครูจะเอาผ้าปิดสิ่งของในตะกร้าไว้แล้วหยิบออกมาทีละ  1 ชิ้น ให้เด็กตอบ และให้เด็กไปหาสิ่งของที่คู่กับสิ่งของที่ครูหยิบออกมาให้ดู  ซึ่งเป็นสิ่งของที่เด็กใช้ในชีวิตประจำวัน  เช่น หยิบปากกาเมจิ แล้วให้เด็กตอบว่าเอาไว้ทำอะไร   หยิบยาสีฟันให้เด็กหาสิ่งของที่มีสัมพันธ์กันมาเด็กก็จะวิ่งไปหยิบสิ่งของที่มันมีอยู่ในห้อง

-เด็กจะได้รู้ตำแหน่งของสิ่งของที่อยู่ในห้อง รู้ประโยชน์ และสามารถบอกความสัมพันธ์ของสิ่งของนั้นได้