วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่2 วันอังคารที่18 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558


                                                                  บันทึกอนุทิน




Knowledge.


หลักในการเลือกเรื่อง


       หัวข้อที่จะเลือกจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กนั้น  มีหลักในการเลือกใช้ดังนี้

1.เลือกสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก
2.เลือกสิ่งที่เด็กสนใจ
3.เลือกสิ่งที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

 =>เรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก คือ สถานการณ์หรือสิ่งของที่เด็กพบ หรือสัมผัสเป็นประจำหรือการดำรงชีวิตประจำวัน

 =>เรื่องที่เด็กสนใจ คือ ความต้องการในสิ่งที่อยากรู้ อยากเห็น และอยากทดลองเพื่อหาคำตอบ
 =>เรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก คือ สิ่งที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง4 ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา

      ความสำคัญของวิทยาศาสตร์


ทำไมเราต้องเรียนวิทยาศาสตร์=>เพื่อเรียนรู้=>มีเหตูผล=>รู้เท่าทัน=>นำไปใช้ประโยชน์=>เกิดการพัฒนา



        พัฒนาการทางสติปัญญา(Cognitive Development)




 พัฒนาการทางด้านสติปัญญา  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงด้านความสามารถทางภาษา  การคิดของแต่ละบุคคล


            พัฒนาการทางสติปัญญา  พัฒนามาจากการมีปฏิสัมพันธ์(interaction) กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย  2 กระบวนการ  คือ


1.กระบวนการดูดซึม(assimilation)

2.กระบวนการปรับโครงสร้าง(accomodation)

 2.1 การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุล
 2.2การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์การใหม่
 2.3ปรับโครงสร้างความคิดให้สอดคล้องเหมาะสม  กับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รัลเข้ามา
 2.4ปรับแนวคิดและพฤติกรรม จะทำให้เกิดภาวะสมดุลแล้วเกิดเป็นโครงสร้างทางสติปัญญาขึ้น(cognitive)



      สติปัญญาเกิดจากการปรับแนวคิดหรือพฤติกรรม  เพื่อให้อยู่รอดในสังคมได้


            ทฤษฏีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์

เพียเจท์ เชื่อว่า  พัฒนาการด้านสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆ  เป็นลำดับขั้น ดังนี้

              ขั้นที่1  ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว(Sensori-motor  stage)   เริ่มตั้งแต่แรกเกิด-2 ปี   พัฒนาการด้านสติปัญญาในวัยนี้    เด็กจะแสดงออกทางร่างกายด้วยการกระทำ

              ขั้นที่2   ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล (Preoperational stage )   อายุ2-7 ปี  แบ่งเป็น 2 ระยะ  คือ

      ระยะที่1 ขั้นก่อนความคิดรวบยอด(Perconceptual  Thought)  

        ระยะที่2 ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล (Intuitive Thought)  


              ขั้นที่3  ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม  (Concrete Operation Stage)  อายุ 7-11 ปี เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล  รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรม





Skills.


     1.Skills  ด้านTechnology

1.1 การSearch information จาก Internet

1.2 การจัดทำแผนความคิด My Mapping สรุปเนื้อหา

   2. Skills ด้านความคิด

2.1 การแสดงความคิดอย่างอิสระ กล้าคิดและคิดเป็น




Teaching Methods.

      อาจารย์มีการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิด  เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและอธิบายเพิ่มเติมจากคำตอบของนักศึกษา




Assessment.

 -classroom  Condition  อากาศถ่ายเทสะดวก บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย จำนวนโต๊ะเก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา เทคโนโลยียังไม่พร้อมต่อการใช้งาน เพราะไม่สามารถใช้Internet ได้ เนื่องจากเป็นวันแรกในการเข้าใช้ห้องเรียน

 -Self   แต่งกายถูกระเบียบ ใช้ ร ล และคำควบกล้ำได้ถูกต้อง และมีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอน

 -Friend  เข้าเรียนตรงเวลา มีการแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

 -Professor  อาจารย์มีความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม พูดเสียงดังฟังชัดในการสอน เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาศให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น    




                                               *หมายเหตู         ศึกษามาจาก นางสาววราภรณ์  แทนคำ  เนื่องจากป่วยเข้าโรงพยาบาล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น