วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558




สรุปงานวิจัย
งานวิจัย

เรื่อง  ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน 
ปริญญานิพนธ ของ

 ศศิพรรณ สําแดงเดช

เสนอตอบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 


เพื่อเปนสวนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

พฤษภาคม 2553


การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุงหมายเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัด กิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน กลุมตัวอยางเปนนักเรียนชาย - หญิง อายุ 5 – 6 ปจํานวน 15 คน ที่ กําลังศึกษาอยูชั้นอนุบาลปที่ 2 ภาคเรียนที่2 ปการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมนุกูล) สํานักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานครซึ่งไดมา จากการเลือกแบบหลายขั้นตอน เปนระยะเวลา 8 สัปดาห สัปดาหละ 3 วัน วันละ 30 นาที

เครื่องมือที่ใชในการวิจัยครั้งนี้คือ แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน 24 แผน และ แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรเปนทักษะที่ควรสงเสริมใหเด็กตั้งแต่ในช่วงปฐมวัยเนื่องจาก เปนวัยที่เขาใจวิทยาศาสตรไดดีการสงเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ใหกับเด็กปฐมวัยนั้น สามารถทําไดหลายวิธีการจัดประสบการณที่เหมาะสําหรับเด็กปฐมวัยมี 3 ทักษะคือ ทักษะ เกี่ยวกับการสังเกต การจําแนก และการสอนนิทานก็เปนอีกวิธีการหนึ่ง เนื่องจากโดยธรรมชาติ แลวเด็กทุกคนชอบนิทาน ครูจึงสามารถสอดแทรกสิ่งที่ตองการสอนเด็กหรือเนื้อหาความรูตางๆ ใหกับเด็กได
 จุดมุงหมาย เพื่อสงเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยในดานการสังเกต การจําแนก และการสื่อสาร แนวทางการจัดกิจกรรมการเลานิทานเพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน ทุกครั้งมีการดําเนินการตามขั้นตอน ดังตอไปนี้
 1 ขั้นนํา ครูนําเด็กเขาสูเรื่ิองราว เช่นการร้อง การสนทนาการทําทาทาง การใช คําถาม และสรางขอตกลงรวมกันระหวางครูกับเด็กในการปฏิบัตตัวระหว่างฟังนิทาน
 2 ขั้นดําเนินกิจกรรม เด็กฟงนิทานโดยใชสื่อประกอบการเลาเชน รูปภาพ หุนตางๆ เปนตน ในระหวางการเลามีการสนทนาซักถาม หรือใหเด็กมีสวนรวมในการเลา เชน ชวยกันสังเกต ช่วยกัน เปรียบเทียบสีเปนตน เด็กและครูรวมกันสนทนา และรวมกันทํากจกรรมการทดลองหลังการฟง นิทานเพื่อใหเด็กไดฝกทักษะในเรื่อง การสังเกต การจําแนก และการสื่อสาร ที่มีความสัมพันธกับ เนื้อเรื่องและส่งเสริม
ทักษะพื้นฐานทางวทยาศาสตร ตามจุดประสงคของการทดลอง
 3 ขั้นสรุป เด็กรวมกิจกรรมอยางสนุกสนานและทําการทดลองทางวิทยาศาสตรด้วยความ เขาใจ กิจกรรมครั้งนี้จัดสัปดาหละ 3 วัน ไดแกวันจันทรวันอังคาร วันพุธ วนละ  1 ครั้ง ครั้งละ 15 นาทีในชวงเวลา  08.30 – 08.45 น. นิทานที่ใช้ในการส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยมีทั้งหมด 24 เรื่อง บทบาทครูในการทํากิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน ในการทํากิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทานครูควร

ปฏิบัติดังนี้

 1.ศึกษาแผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทานใหเขาใจ

 2.จัดสื่ออุปกรณสถานที่ประกอบการจัดกิจกรรมการทดลองใหพรอม

 3.สรางขอตกลงเบื้องตนกับเด็กเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในขณะฟังนิทานและการทดลอง


สรุปผลการวิจัย
            1.  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ .01
            2.  ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการสังเกต ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้ หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่ในระดับดี






     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น