วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่6 วันอังคารที่15 เดือน กันยายน พ.ศ. 2558

                                                                  บันทึกอนุทิน




Knowledge.

-ทดสอบก่อนเรียน เรื่องการทำงานของสมอง












             -การนำเสนอบทความ



=> นางสาวสุจิตรา มาวงษ์ เลขที่24  เรื่อง แนวทางสอนคิด เติม วิทย์ ให้เด็กอนุบาล

        แนวทางในการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมี 5 ข้อดังนี้


               1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง 
               2. ออกไปหาคำตอบด้วยตัวเอง 

               3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามในขั้นนี้คุณครูอาจช่วย

           เสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล

               4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ

               5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ 



=> นางสาวประภัสสร สีหบุตร เลขที่23 เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย 
 นิทานเป็นสื่อที่ดีในการใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป                     แต่ที่ จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย 
       คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
      เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็ก เริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์                  ธรรมชาติ ภาพน่ารัก ๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไปเด็ก ๆ 



-แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์










หลักการ/ แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก












             ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

-ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก


-พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


-เสริมสร้างประสบการณ์


         ประโยชน์ของการเรียนวิทยาศาสตร์


-พัฒนาความคิดรวบยอด


-พัฒนาทีกษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์


-สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง





      

Skills.

      1.ฝึกระดมความคิดการตอบคำถามและการเสนอความคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมอง

      2.การคิดวิเคราะห์  การสังเคราะห์

      3.การนำเสนอบทความต่างๆ




Teaching Methods.

      อาจารย์มีการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิด  เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและอธิบายเพิ่มเติมจากการประดิษฐ์กระดาษของนักศึกษาและการทำMy mapping




Assessment.

 -classroom    อากาศถ่ายเทสะดวก บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย จำนวนโต๊ะเก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา เทคโนโลยียังไม่พร้อมต่อการใช้งาน เพราะไม่สามารถใช้Internet ได้ เนื่องจากเป็นวันแรกในการเข้าใช้ห้องเรียน

 -Self   การตอบคำถาม การระดมความคิด และมีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอน

 -Friend  เข้าเรียนตรงเวลา มีการแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและช่วยกันตอบคำถาม

 -Professor  อาจารย์มีความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม มีการใช้คำถามที่หลากหลายในการถามนักศึกษา อาจารย์เพิ่มเติ่มจากคำตอบที่นักศึกษาได้ตอบไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น